ข้อมูลสำนัก

ประวัติ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกริก

        สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกริก มีประวัติการก่อตั้งมายาวนาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2495 ถือกำเนิดขึ้นมาจากมุมหนึ่งของห้อง ในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษของอาจารย์เกริก มังคละพฤกษ์ ณ อาคาร ก. ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอาจารย์เกริก” มีหนังสือและสิ่งพิมพ์ ประมาณ 10,000 รายการ ต่อมาเมื่อโรงเรียนสอนภาษา ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนเกริกวิทยาลัย ห้องสมุดจึงกลายมาเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเกริกวิทยาลัย เมื่อโรงเรียนเกริกวิทยาลัยย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ.2513 ห้องสมุดก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นห้องสมุดวิทยาลัยเกริก ตามการเจริญเติบโตของสถาบัน และย้ายมาอยู่ ณ ที่ทำการชั่วคราว ณ อาคารศรีศุภราช สะพานควาย กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2527 พร้อมกับการเปิดดำเนินการของสถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) ณ ที่ทำการใหม่ ทว่า 2 ปีหลังจากนั้นได้เกิดอัคคีภัย ทำให้ห้องสมุดได้รับความเสียหายทั้งหมด จึงต้องย้ายมาทำการ ณ บริเวณชั้น 4 อาคารไทยเซฟวิ่งทรัสต์ ต่อมาเมื่อที่ทำการถาวรของสถาบันฯ แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2531 ห้องสมุดจึงย้ายมาทำการ ณ บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคารมังคละพฤกษ์ และก่อตั้งเป็น สำนักหอสมุดพร้อมกับการยกฐานะของสถาบันเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2538

        มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการของนักศึกษาและบุคลากร จึงต้องการให้ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ทันสมัย และมีบรรยากาศดี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2549 จึงได้ปรับปรุงพื้นที่ภายในห้องสมุดและห้องวารสารทั้งหมด ห้องสมุดได้มีการพัฒนาเรื่อยมาโดยเน้นให้ความสำคัญกับการให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ คณะกรรมการบริหารฯ จึงได้ส่งเสริมให้มีระบบสืบค้นสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต และมีการพัฒนาให้มีความทันสมัยตามข้อแนะนำของผู้ใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง

        ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาไทย ทั้งยังเป็นการเทิดพระเกียรติในวโรกาสที่รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยจึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต พระราชทานนามห้องสมุดว่า “ห้องสมุดเฉลิมพระเกรียติ รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ 60 ปี”
ใน วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของสถาบัน และเจ้าหน้าที่ทุกคน

ปรัชญา

ปรัชญา (Philosophy)
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน “ความรู้ทำให้องอาจ”
ปณิธาน (Pledge)
“ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล เพิ่มพูนความรู้ นำสู่การศึกษาที่ก้าวไกล”

วิสัยทัศน์

แหล่งเรียนรู้สู่สังคม             ผสมผสานเทคโนโลยี
มีจิตบริการ                สานต่อพันธกิจมหาวิทยาลัย

พันธกิจ

1. เพื่อพัฒนาระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับให้บริการทางวิชาการแก่ผู้ใช้ โดยจัดรวบรวมวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำรายการเพื่อสืบค้น และให้บริการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัย ให้มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมกับหลักสูตร ตามมาตรฐานสากล
2. เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศจากหลายแห่งหลายรูปแบบ เพื่อการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ
3. เพื่อขยายขอบเขตบริการทางวิชาการ ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการพัฒนาประเภททรัพยากรสารสนเทศ
4. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของสำนักหอสมุด

บริบท

        สำนักหอสมุดมีพันธกิจหลัก ในการสนับสนุนการพัฒนาบัณฑิต การบริการวิชาการ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเกริก ผ่านทางการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ พื้นที่ในการทำกิจกรรม และบริการที่หลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ในยุคดิจิทัล สำนักหอสมุดจึงได้ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการสืบค้นและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ จึงกล่าวได้ว่า การให้บริการของห้องสมุด ไม่เพียงเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรต่างๆ สำหรับหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แต่ยังได้จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรไว้ให้บริการแก่ผู้แสวงหาความรู้

นโยบายและแนวทางการพัฒนาสำนักหอสมุด

  • นโยบายข้อที่ 1 พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจัดฝึกอบรมแนะนำผู้ใช้บริการให้รู้จักเทคนิค วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
  • นโยบายข้อที่ 2 พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความทันสมัย อย่างน้อยให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
  • นโยบายข้อที่ 3 พัฒนาการบริหารงานระบบห้องสมุดให้มีความคล่องตัว ให้สามารถทำงานร่วมกันได้สะดวกรวดเร็วทุกแผนก โดยมีระบบการประสานงานที่นำเทคโนโลยีและระบบการจัดการที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
  • นโยบายข้อที่ 4 พัฒนาบุคลากรให้มีจิตใจในการบริการ เห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม และให้ความรู้ ความชำนาญในการทำงานในห้องสมุดระดับสถาบันอุดมศึกษา
  • นโยบายข้อที่ 5 พัฒนาระบบการให้บริการตามแนวทางสมัยใหม่ โดยให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลของสำนักหอสมุดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ (Remote Access) และจัดให้มีการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอน

วัตถุประสงค์

1. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความทันสมัย และให้สอดคล้องกับหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดสอน
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย ตลอดจนผลิตผลงานวิชาการของคณาจารย์และบุคลากร
3. เพื่อจัดให้บริการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น บริการยืม-คืน บริการสืบค้นสารนิเทศด้วยคอมพิวเตอร์ บริการ SDI(Special Delivery Interface)เฉพาะบุคคล และบริการห้องมัลติมีเดีย เป็นต้น
4. เพื่อพัฒนาผู้ใช้บริการให้มีทักษะการสืบค้นสารสนเทศ
5. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทันต่อวิทยาการใหม่ๆ และเป็นผู้มีจิตใจบริการ
6. ให้ความร่วมมือในการช่วยสอนการใช้ห้องสมุดภาคปฏิบัติ รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีต่อห้องสมุดให้มีนิสัยรักการอ่านแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป

บุคลากร สำนักหอสมุด

ดร.กอบกุลยา งามเจริญมงคล

ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด

นางสาวสมใจ ศรีปาน

หัวหน้างานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นางมัฑนา สุวรรณ

หัวหน้างานวารสาร

นางสมร อุ่นวิเศษ

บรรณารักษ์งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นางสาวฉลอง กุสุมาลย์

บรรณารักษ์งานวารสาร

นายอาชวิน บุญสูง

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นางสาวศุภรานันท์ กาพย์พิมาย

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นายธนินท์ อภิวันทน์คุณากร

เจ้าหน้าที่งานวารสาร

นายคมเดช เสริฐศรี

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

ดร.กอบกุลยา งามเจริญมงคล

ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด

นางสาวสมใจ ศรีปาน

หัวหน้างานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นางมัฑนา สุวรรณ

หัวหน้างานวารสาร

นางสมร อุ่นวิเศษ

บรรณารักษ์งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นางสาวฉลอง กุสุมาลย์

บรรณารักษ์งานวารสาร

นางสาวศุภรานันท์ กาพย์พิมาย

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นายอาชวิน บุญสูง

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นายคมเดช เสริฐศรี

เจ้าหน้าที่งานพัฒนา
และบริการสารสนเทศ

นายธนินท์ อภิวันทน์คุณากร

เจ้าหน้าที่งานวารสาร

การประกันคุณภาพ

แผนผังห้องสมุด

Scroll to Top